แจ้งประชาชนที่อยู่ริมแม่น้ำให้ระวัง ผลกระทบจากน้ำโขงขึ้นสูง สัตว์เลื้อยคลาน แมลงมีพิษ
วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2560
การวางแผนกลยุทธ์
การวางแผนกลยุทธ์
ภารกิจ(Mission)
เพื่อผู้คนสนใจและติดตามเพจของเรา มีความสนใจในหนองคาย ทำให้จังหวัดหนองคายเป็นสถานที่ ที่มีผู้คนสนใจไม่น้อย
โครงสร้างบริษัท(Company profile)
เพจ หนองคายเที่ยวได้เที่ยวดี
สร้างเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2560
เป้นเพจที่ประชาสัมพัธ์ เรื่องราวข้อมูลข่าวสาร สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญและงานประเพณีทั้งในตัวเมืองและอำเภอใกล้เคียง
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
Strength จุดแข็ง
1 มีคู่แข่งน้อย
2 มีการลงพื้นที่จริงทำให้ข้อมูลเชื่อถือได้
Weakness จุดอ่อน
1 เป็นเพจน้องใหม่ไม่ค่อยมีคนรู้จัก
2 ข้อมูลข่าวสารอาจจะล่าช้า ไม่ค่อยมีการอัฟเดทอย่างต่อเนื่อง
3 ขาดเท็คนิคการนำเสนอที่ไม่ค่อยดึงดูด
Strength จุดแข็ง
1 เป็นเพจที่บอกถึงหนองคายได้เป็นอย่างดี ทั้งสถานที่สำคัญ เทศกาลต่างๆที่เป็นเอกลัษณ์
2 เพจมีการนำเสนองานไม่ว่าจะเป็นงานต่างอำเภอ หรือสถานที่ตามชุมชนที่คนไม่รู้จัก ทำให้รู้จักโดยการนำเสนอ
Weakness จุดอ่อน
1 ข้อมูลส่วนมากคนรู้จักอยู่แล้ว
2 เพจไม่ค่อยมีคนสนใจเพราะการนำเนอแบบโพสธรรมดามีแต่ตัวหนังสือ ทำให้ไม่ค่อยเป็นที่แปลกตาหน้าสนใจสักเท่าไหร่
Opportunity โอกาส
1 นอกจากการนำเสนอสถานที่ ที่คนรู้จักแล้วเรายังมีการโพสสถานที่แปลกใหม่ที่คนไม่เคยเห็นทำให้มีความแปลกใหม่ หรือการ live สดวิดีโอแนะนำ
2 นอกจากเพจแล้ว เรายังมีทวิตเตอร์ บล๊อค ที่ให้ข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึง
Threats อุปสรรค
1 เนื่องจากระยะเวลาในการหาข้อมูลและระยะเวลาการนำเสนอไม่ค่อยสม่ำเสมอ ทำให้ข้อมูลข่าวสารไม่ดีเท่าที่ควร
2 เพจมีคนรู้จักน้อย เพจคู่แข่งมีคนรุ้จักมาก
วัตถุประสงค์
1 เพื่อให้เป็นที่รู้จักแกผู้คน นักท่องเที่ยว
2 ต้องการประชาสัมพัธ์ งานเทศกาลต่างๆ
3 เป็นการสร้างชื่อเสียงให้จังหวัดหนองคายให้หน้าสนใจ ให้น่าอยู่
แผน (Plans)
1 มีการนำเสนอในรูปแบบที่แปลกไม หรือทำเป็นรายการท่องเที่ยวการประชาสัมพันธ์สถานที่สำคัญ
2 มีการโปรโมทอัพเดทข้อมูลข่าวสารให้ สดใหม่ทันเหตุการ สร้างภาพลักษณ์ที่ดี
นโยบาย (Policies)
การนำเสนอเรื่องราวเหตุการควรนำเสนอเรื่องราวเหตุการจริง และเป็นข้อมูลมีคุณภาพทันต่อเหตุการ
มีการนำเสนอที่แปลกใหม่น่าสนใจ เข้าใจง่ายให้ความรู้ นำเสนอเหตุการจริงไม่แต่งเติมเรื่องราวให้ผิดไปจากเดิม
การปฏิบัติตามกลยุทธ์ (Strategy implementation)
1 มีข้อมูลข่าวสารที่เชื่อถือได้
2 มีข้อมูลที่แปลกใหม่ และทันต่อเหตุการณ์
3 มีการประชาสัมพันธ์และนำเสนออย่างสม่ำเสมอ
วันศุกร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2560
โพนพิสัย
คิดถึงบ้านเกิด
อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
อำเภอเล็กๆ ที่หลายคนพอคุ้นเคยจากเรื่องราวของ 15 ค่ำเดือน 11
ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค บางคนรู้จักกับตำนานเมืองหลวงของพญานาค
แห่งโลกบาดานใต้แม่น้ำโขง
แต่...หลายคนยังไม่ทราบว่า อำเภอโพนพิสัย มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย
ที่กำลังรอให้ทุกท่านได้สัมผัส กับ รีวิวชุดนี้ครับ
1.วัดไทย และ ถ้ำพญานาค
ถ้ำพญานาค หรือ ถ้ำเมืองบาดาลจำลอง ตั้งอยู่ที่ วัดไทย อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย
ตำนานเล่าขานกันถึงเมืองหลวงของพญานาคแห่งโลกบาดาลใต้แม่น้ำโขง
เชื่อกันว่า อยู่ที่ริมแม่น้ำโขงหน้าวัดไทยนี้เอง
ในคืนหนึ่ง เจ้าอาวาสวัดไทยได้นิมิตว่า มีหญิงชาย ร่างกายสีดำมานิมนต์ให้สร้างสัญลักษณ์ประจำเมืองบาดาล
หรือเมืองพญานาคไว้เมืองมนุษย์ ณ บริเวณ วัดไทย ท่านเจ้าอาวาสจึงดำริสร้างสิ่งแทนโลกบาดาลคือ
1.ราชาแห่งพญานาค เฝ้าที่หน้าทางเข้าถ้ำ สูง 19 เมตร
2.สร้างเป็นนาคบาท คือลักษณะแบบงูกินหาง หมายถึงสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง
3.เสาหลักเมืองบาดาล เป็นรูปร่างสามเหลี่ยม
4.ประตูทางเข้าเมืองบาดาล
ทางเข้าจะเชื่อมเข้าไปในลำตัวของพญานาค ซึ่งจะลอดเข้าทางส่วนท้องของพญานาค
และจะมุดออกทางส่วนหางของพญานาค
ภายในแบ่งเป็น ถ้ำจำลอง 7 ห้อง แต่ละห้องแสดงถึงเรื่องราวของเมืองบาดาล
เช่นห้องสมบัติพญานาค จำรองถ้ำใต้บาลที่เป็นที่เก็บสมบัติของพญานาคเอาไว้
จำรองเป็นแก้วแหวนเงินทอง ผนังห้องเป็นสีทอง
ห้องอริยสงฆ์ เป็นห้องที่มีหุ่นขี้ผึ่งจำรอง อริยสงฆ์ของประเทศไทยเอาไว้
บริเวณทางเดิน ประดับด้วยจิตกรรมฝาผนังที่งดงาม
เล่าเรื่องราวถึงตำนานของพญานาคและโลกบาดาล
นอกจากนี้ บริเวณริมฝั่งโขงหน้าวัดไทย เป็นจุดชมบั้งไฟพญานาคที่ได้รับความนิยมที่สุดของ
จังหวัดหนองคาย ซึ่งในวันออกพรรษา 15 ค่ำเดือน 11 ขอเชิญทุกท่านมาพิสูจน์ตำนานแห่งพญานาคกันนะครับ
2.ริมฝั่งโขง อำเภอโพนพิสัย
ริมแม่น้ำโขง เขตเทศบาลอำเภอโพนพิสัย ถูกสร้างเป็นถนนเล็กๆ โค้งไปตามตลิ่งน้ำโขง
ระยะทางกว่า 3 กิโลเมตร ตั้งแต่วัดหลวง จนมาถึงหน้าวัดจอมนาง
ผ่านวัด และสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ทั้งบรรยากาศวิถีชีวิตริมแม่น้ำโขง
ที่ผู้คนมีความผูกพันธุ์กับสายน้ำ
เริ่มต้นเส้นทางที่ วัดหลวง โดดเด่นด้วยศาสนาสถานที่งดงามทั้งเจดีย์ วิหาร
และที่สะดุดตาคือพระยืนริมแม่น้ำโขงขนาดใหญ่
นอกจากนี้ยังมี พระสุกจำรอง ซึ่งเป็นหนึ่งในพระพุทธรูป 3 องค์ ที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทร์
อันประกอบด้วย พระสุก พระเสริม และพระใส แต่พระสุกเพียงพระองค์เดียวที่เกิดเหตุอัสจรรย์จมลงใต้ลำน้ำโขง
ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าเป็นอิทธิฤทธิ์ของพญานาค
ถัดมาคือบริเวณ ปากห้วยหลวง เป็นจุดที่มีการทำเกษรริมแม่น้ำโขง
เพราะดินบริเวณดังกล่าวเป็นดินปากแม่น้ำ จึงมีแร่ธาตุสะสมอยู่มาก
ใกล้ๆกันนั้นเป็นที่ตั้งของ ศาลหลักเมือง อ.โพนพิสัย และ ศาลเจ้าปู่ย่า
ซึ่งเป็นที่เคารพกราบไหว้ของชาวโพนพิสัยมาช้านาน
ถัดมาอีกประมาณ 800 เมตร เป็นที่ตั้งของ ตลาดนัดไทยลาว
มีทุกวันเสาร์และวันอังคาร เป็นตลาดที่จุดผ่อนปรนให้ชาวลาวสามารถ
ข้ามมาค้าขายที่ฝั่งไทยได้ โดยสินค้ามักเป็นอาหารพื้นเมือง อาหารป่าจากฝั่งลาว
เครื่องหัตถกรรมของชาวลาวโดยจะค้าขายช่วงเวลา 08.00-12.00 น.
3.ปากน้ำงึม (แม่น้ำสองสี ) และหาดบ้านหนองกุ้ง
จุดท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ที่จัดได้ว่าสวยงามที่สุดของโพนพิสัย คือ จุดชมวิวแม่น้ำสองสี
บริเวณดังกล่าวอยู่ที่บ้านหนองกุ้ง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 8 กม.
จุดดังกล่าว อยู่ริมแม่น้ำโขงตรงข้ามกับปากแม่น้ำงึม ของประเทศลาว
แม่น้ำงึมเป็นแม่น้ำขนาดใหญ่ของประเทศลาว ไหลลงมาจากเขื่อนแม่น้ำงึม (ประเทศลาว)
และไหลลงมาที่แม่น้ำโขงที่ บ้านปากงึมประเทศลาว
แม่น้ำงึมมีน้ำสีเขียว ส่วนแม่น้ำโขงมีน้ำสีส้มแดง เมื่อน้ำไหลมาบรรจบกันก็จะเป็นลักษณะแม่น้ำสองสี
ซึ่งสามารถชมความงามได้ชัดเจนที่ฝั่งไทย บริเวณบ้านหนองกุ้ง
บ้านหนองกุ้งยังเป็นสถานที่หนึ่งที่สามรถชมบั้งไฟพญานาคได้
ใกล้ๆกับจุดชมวิวนี้เอง ในช่วงหน้าร้อนจะมีหาดทรายริมชายโขง
ที่เรียกว่า หาดหนองกุ้ง หรือ บางคนเรียกว่า หาดจอมเพชร
เป็นสถานที่เล่นน้ำคลายร้อนยอดนิยมของชาวโพนพิสัย และคนต่างจังหวัด
มีบริการร้านอาหารและเครื่องดื่มในรูปแบบแพริมน้ำ มีบริการเช่าห่วงยาง เสื้อชูชีพ
หาดหนองกุ้งจะมีในฤดูร้อน คือ ช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม
4.พระเสี่ยง วัดมณีโคตร
พระเสี่ยงพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวโพนพิสัย และอำเภอข้างเคียง
เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่อายุกว่า 300 ปี สร้างโดยกษัตริย์อาณาจักรล้านช้าง
เมื่อปี พ.ศ. 2400 กิตติศัพท์ข่าวลือเกี่ยวกับอภินิหารของพระเสี่ยง ได้ทราบไปถึงรัชกาลที่ 4
จึงมีพระบรมราชโองการอัญเชิญเอาพระพุทธรูปที่สำคัญมาที่สยามพร้อมกัน แต่ไม่สำเร็จ
เมื่อประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา มีผู้คิดจะนำพระเสี่ยงไปไว้ที่กรุงเทพฯ
จึงได้อัญเชิญพระเสี่ยงขึ้นหลังช้าง พระเสี่ยงก็ได้แสดงอภินิหารให้ช้างหนักจนไปไม่ได้
พระเสี่ยงตกจากหลังช้าง เป็นเหตุให้หูหัก เกศคต จึงได้ประดิษฐานที่ วัดมณีโคตร ดังในปัจจุบัน
นอกจากนี้พระเสี่ยงยังมีความสำคัญต่องานประเพณีของชาวโพนพิสัยคือ
งานมหาสงกรานต์โพนพิสัย ที่ วัดมณีโคตร อ.โพนพิสัย
ซึ่งจะทำการแห่พระเสี่ยง วัดมณีโคตร ให้ประชาชนได้สรงน้ำ
ซึ่งจะอัญเชิญลงจากวิหารในวันที่ 13 เมษายน
นอกจากพระเสี่ยงแล้ว วัดมณีโคตร ยังมีจิตกรรมฝาผนัง สามมิติ
เรื่องตำนานพญานาค ซึ่งมีรูปเจ้าแม่นาคีอีกด้วย ( ละครเรื่องนาคี ละครช่อง 3 )
สะพานมิตรภาพไทย-ลาว
ถือเป็นสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งแรกในประเทศไทยที่ตัวสะพานข้ามแม่น้ำโขง จากจังหวัดหนองคายไปยังเมืองท่าเดื่อ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากกรุงเวียงจันทน์ (เมืองหลวงของประเทศลาว) ประมาณ 20 กิโลเมตร นับเป็นสะพานที่สร้างความ สัมพันธ์ไทย-ลาว ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยตัวสะพานมีความยาว 1,174 เมตร กว้าง 12.7 เมตร แบ่งช่องจราจรออกเป็น 2 ช่องทาง พร้อมทั้งออกแบบช่องตรงกลางสำหรับให้รถไฟ ใช้เวลาการก่อสร้าง 3 ปี แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2537 ด้วยความร่วมมือจาก 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย, ลาว, ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น
สำหรับนักท่องเที่ยวทั่วไปสามารถเดินชมความสวยงามได้ถึงกลางสะพานทางฝั่งชาย แดนไทยเท่านั้น ส่วนการเดินทางข้ามไปท่องเที่ยวยังฝั่งประเทศลาวต้องใช้ใบตรวจคนเข้าเมือง หรือพาสปอร์ต โดยการเดินทางข้ามไปเที่ยวยังฝั่งประเทศลาวนั้นจะเปิดทำการทุกวันในเวลา 06.00-22.00 น. สำหรับในการนำรถยนต์ออก-เข้าประเทศนั้นจะต้องทำเอกสารนำรถออกและเสียค่า ธรรมเนียมตามที่กำหนด ทั้งนี้สามารถชมข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ด้านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดหนองคาย
ถือเป็นสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งแรกในประเทศไทยที่ตัวสะพานข้ามแม่น้ำโขง จากจังหวัดหนองคายไปยังเมืองท่าเดื่อ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากกรุงเวียงจันทน์ (เมืองหลวงของประเทศลาว) ประมาณ 20 กิโลเมตร นับเป็นสะพานที่สร้างความ สัมพันธ์ไทย-ลาว ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยตัวสะพานมีความยาว 1,174 เมตร กว้าง 12.7 เมตร แบ่งช่องจราจรออกเป็น 2 ช่องทาง พร้อมทั้งออกแบบช่องตรงกลางสำหรับให้รถไฟ ใช้เวลาการก่อสร้าง 3 ปี แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2537 ด้วยความร่วมมือจาก 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย, ลาว, ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น
สำหรับนักท่องเที่ยวทั่วไปสามารถเดินชมความสวยงามได้ถึงกลางสะพานทางฝั่งชาย แดนไทยเท่านั้น ส่วนการเดินทางข้ามไปท่องเที่ยวยังฝั่งประเทศลาวต้องใช้ใบตรวจคนเข้าเมือง หรือพาสปอร์ต โดยการเดินทางข้ามไปเที่ยวยังฝั่งประเทศลาวนั้นจะเปิดทำการทุกวันในเวลา 06.00-22.00 น. สำหรับในการนำรถยนต์ออก-เข้าประเทศนั้นจะต้องทำเอกสารนำรถออกและเสียค่า ธรรมเนียมตามที่กำหนด ทั้งนี้สามารถชมข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ด้านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดหนองคาย
จังหวัดหนองคาย ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวเข้าร่วมงานบั้งไฟพญานาค 2560 ระหว่างวันที่ 2-11 ตุลาคม 2560 พบกับกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย พร้อมชมการรำบวงสรวงบูชาพญานาค โดยนางเอกสาว แต้ว ณฐพร เตมีรักษ์
จังหวัดหนองคาย ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานหนองคาย องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย เทศบาลเมืองหนองคาย เทศบาลตำบลโพนพิสัย และชาวหนองคาย ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวร่วมงานบุญสุดยิ่งใหญ่ประจำปีของชาวหนองคาย กับงานเทศกาลออกพรรษาบั้งไฟพญานาค 2560 ร่วมชมปรากฏการณ์สุดอัศจรรย์เหนือธรรมชาติริมแม่น้ำโขง พร้อมกับร่วมกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย
สำหรับกิจกรรมของเทศบาลเมืองหนองคาย จะมีช่วงวันที่ 2-8 ตุลาคม 2560 ส่วนเทศบาลตำบลโพนพิสัย อำเภอโพนพิสัย จะจัดระหว่างวันที่ 4-11 ตุลาคม 2560 ซึ่งในส่วนของเทศบาลเมืองหนองคายจะมีการจัดกิจกรรมถนนอาหาร การแสดงแสงเสียงตำนานบั้งไฟพญานาค (วันที่ 2-4 กันยายน 2560) การแสดงบนเวทีเป็นหลัก ส่วนที่อำเภอโพนพิสัย จะมีการรำบวงสรวงบูชาพญานาค โดยนางเอกสาว แต้ว ณฐพร เตมีรักษ์ รายละเอียดงานมีดังต่อไปนี้
วันพุธ ที่ 4 ตุลาคม 2560
เวลา 17.00 น. พิธีรำขอขมาแม่น้ำโขง โดยนางรำกว่า 2,000 คน
เวลา 22.30 น. การแสดงม่านน้ำประกอบแสง สี เสียง "เฉลิมพระเกียรติและมหัศจรรย์บั้งไฟพญานาค"
วันพฤหัสบดี ที่ 5 ตุลาคม 2560 (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11)
เวลา 07.00 น. กิจกรรมแต่งกายไทย ใส่บาตร วันออกพรรษา ณ วัดไทย
เวลา 08.00 น. พิธีบวงสรวงพญานาคแบบดั้งเดิม ณ บริเวณปากห้วยหลวง
เวลา 16.00 น. พิธีรำบวงสรวงบูชาพญานาค นำโดย ดารานักแสดงหญิง แต้ว ณฐพร เตมีรักษ์ และนางรำกว่า 2,000 คน
เวลา 17.00 น. พิธีบวงสรวงวันเปิดโลก บูชาพระพุทธเจ้าและบูชาพญานาค, พิธีเปิดงานประเพณีไหลเรือไฟบั้งไฟพญานาคโลก ประจำปี 2560, การแสดงพลุมหัศจรรย์บั้งไฟพญานาคโลก และชมปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค บริเวณริมแม่น้ำโขง
เวลา 20.30 น. การแสดงม่านน้ำประกอบแสง สี เสียง "เฉลิมพระเกียรติและมหัศจรรย์บั้งไฟพญานาค"
วันศุกร์ ที่ 6 ตุลาคม 2560
เวลา 06.00 น. ทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะตามถนนพิสัยสรเดช อำเภอโพนพิสัย
เวลา 20.30 น. การแสดงม่านน้ำประกอบแสง สี เสียง "เฉลิมพระเกียรติและมหัศจรรย์บั้งไฟพญานาค", ชมการแสดงจากศิลปิน พร จันทพร
วันเสาร์ ที่ 7 ตุลาคม 2560
เวลา 18.00 น. ชมการประกวดธิดาบั้งไฟพญานาคโลก ประจำปี 2560
วันอาทิตย์ ที่ 8 ตุลาคม 2560
เวลา 18.00 น. ชมการประกวดธิดาบั้งไฟพญานาคโลก ประจำปี 2560 (สาวประเภทสอง)
วันจันทร์ ที่ 9 ตุลาคม 2560
เวลา 21.00 น. ชมการแสดงจากศิลปิน ระ เอราวัณ
วันอังคาร ที่ 10 ตุลาคม 2560
เวลา 21.00 น. ชมการแสดงจากศิลปิน เม จิราพร
- วันพุธ ที่ 11 ตุลาคม 2560
เวลา 09.00 น. ชมการแข่งขันเรือยาวประเภทเรือเล็ก 12 ฝีพาย
เวลา 21.00 น. ชมการแสดงคอนเสิร์ตจากศิลปิน มนต์แคน แก่นคูณ (เต็มวง)
(** ทั้งนี้กำหนดการต่าง ๆ อาจมีการเปลี่ยนแปลง)
นอกจากการรอชมบั้งไฟพญานาคแล้วยังมีการประกวดธิดาบั้งไฟพญานาคโลก พร้อมการแสดงม่านน้ำประกอบแสง สี เสียง เฉลิมพระเกียรติและมหัศจรรย์บั้งไฟพญานาคให้ได้ชมกันด้วย
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวจังหวัดหนองคาย โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โทรศัพท์ 0 4242 1326
หมายเหตุ : ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงกรุณาตรวจสอบอีกครั้ง ข้อมูล ณ วันที่ 5 กันยายน 2560
จังหวัดหนองคาย ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานหนองคาย องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย เทศบาลเมืองหนองคาย เทศบาลตำบลโพนพิสัย และชาวหนองคาย ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวร่วมงานบุญสุดยิ่งใหญ่ประจำปีของชาวหนองคาย กับงานเทศกาลออกพรรษาบั้งไฟพญานาค 2560 ร่วมชมปรากฏการณ์สุดอัศจรรย์เหนือธรรมชาติริมแม่น้ำโขง พร้อมกับร่วมกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย
สำหรับกิจกรรมของเทศบาลเมืองหนองคาย จะมีช่วงวันที่ 2-8 ตุลาคม 2560 ส่วนเทศบาลตำบลโพนพิสัย อำเภอโพนพิสัย จะจัดระหว่างวันที่ 4-11 ตุลาคม 2560 ซึ่งในส่วนของเทศบาลเมืองหนองคายจะมีการจัดกิจกรรมถนนอาหาร การแสดงแสงเสียงตำนานบั้งไฟพญานาค (วันที่ 2-4 กันยายน 2560) การแสดงบนเวทีเป็นหลัก ส่วนที่อำเภอโพนพิสัย จะมีการรำบวงสรวงบูชาพญานาค โดยนางเอกสาว แต้ว ณฐพร เตมีรักษ์ รายละเอียดงานมีดังต่อไปนี้
วันพุธ ที่ 4 ตุลาคม 2560
เวลา 22.30 น. การแสดงม่านน้ำประกอบแสง สี เสียง "เฉลิมพระเกียรติและมหัศจรรย์บั้งไฟพญานาค"
วันพฤหัสบดี ที่ 5 ตุลาคม 2560 (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11)
เวลา 07.00 น. กิจกรรมแต่งกายไทย ใส่บาตร วันออกพรรษา ณ วัดไทย
เวลา 08.00 น. พิธีบวงสรวงพญานาคแบบดั้งเดิม ณ บริเวณปากห้วยหลวง
เวลา 16.00 น. พิธีรำบวงสรวงบูชาพญานาค นำโดย ดารานักแสดงหญิง แต้ว ณฐพร เตมีรักษ์ และนางรำกว่า 2,000 คน
เวลา 17.00 น. พิธีบวงสรวงวันเปิดโลก บูชาพระพุทธเจ้าและบูชาพญานาค, พิธีเปิดงานประเพณีไหลเรือไฟบั้งไฟพญานาคโลก ประจำปี 2560, การแสดงพลุมหัศจรรย์บั้งไฟพญานาคโลก และชมปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค บริเวณริมแม่น้ำโขง
เวลา 20.30 น. การแสดงม่านน้ำประกอบแสง สี เสียง "เฉลิมพระเกียรติและมหัศจรรย์บั้งไฟพญานาค"
วันศุกร์ ที่ 6 ตุลาคม 2560
เวลา 06.00 น. ทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะตามถนนพิสัยสรเดช อำเภอโพนพิสัย
เวลา 20.30 น. การแสดงม่านน้ำประกอบแสง สี เสียง "เฉลิมพระเกียรติและมหัศจรรย์บั้งไฟพญานาค", ชมการแสดงจากศิลปิน พร จันทพร
วันเสาร์ ที่ 7 ตุลาคม 2560
เวลา 18.00 น. ชมการประกวดธิดาบั้งไฟพญานาคโลก ประจำปี 2560
วันอาทิตย์ ที่ 8 ตุลาคม 2560
เวลา 18.00 น. ชมการประกวดธิดาบั้งไฟพญานาคโลก ประจำปี 2560 (สาวประเภทสอง)
วันจันทร์ ที่ 9 ตุลาคม 2560
เวลา 21.00 น. ชมการแสดงจากศิลปิน ระ เอราวัณ
วันอังคาร ที่ 10 ตุลาคม 2560
เวลา 21.00 น. ชมการแสดงจากศิลปิน เม จิราพร
- วันพุธ ที่ 11 ตุลาคม 2560
เวลา 09.00 น. ชมการแข่งขันเรือยาวประเภทเรือเล็ก 12 ฝีพาย
เวลา 21.00 น. ชมการแสดงคอนเสิร์ตจากศิลปิน มนต์แคน แก่นคูณ (เต็มวง)
(** ทั้งนี้กำหนดการต่าง ๆ อาจมีการเปลี่ยนแปลง)
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวจังหวัดหนองคาย โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โทรศัพท์ 0 4242 1326
หมายเหตุ : ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงกรุณาตรวจสอบอีกครั้ง ข้อมูล ณ วันที่ 5 กันยายน 2560
วันศุกร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2560
@หนองคาย วัดโพธิ์ชัย หลวงพ่อพระใส สถานที่สำคัญในจังหวัด และเป็นแหล่งศูนย์รวมของพุทธสานิกชน ที่่มีจิตสัทธา กราบขอพรและสรงน้ำ “หลวงพ่อพระใส” ระหว่างวันที่ 13-17 เมษายน 2560 ณ วัดโพธิ์ชัย (พระอารามหลวง) อ.เมือง จ.หนองคาย งานนี้ห้ามพลาด...“เทศกาลตรุษสงกรานต์ 2 ป็นวัดอารามหลวง ตั้งอยู่ที่ถนนโพธิ์ชัย ในเขตเทศบาลเมือง ห่างจากตัวเมืองหนองคายไปประมาณ 2 กิโลเมตร ตามทาง หลวงหมายเลข 212 ทางไป อ.โพนพิสัย วัดจะอยู่ทางซ้ายมือ เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสีสุก หน้าตักกว้าง 2 คืบ 8 นิ้ว ส่วนสูงจากพระชงฆ์เบื้อล่างถึงยอดพระเกศ ๔ คืบ ๑ นิ้วของช่างไม้ ประวัติการสร้าง สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานไว้ในหนังสือประวัติพระพุทธรูปสำคัญ ซึ่งพิมพ์แจกในงานทอดกฐินพระราชทาน พ.ศ. 2468 ว่า หลวงพ่อพระใส เป็นพระพุทธรูปหล่อในสมัยล้านช้าง และตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า พระธิดา 3 องค์ แห่งกษัตริย์ล้านช้างเป็นผู้สร้าง บางท่านก็ว่าเป็นพระราชธิดาของพระไชยเชษฐาธิราช ได้หล่อพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์ และขนานนาม พระพุทธรูปตามนามของตนเองไว้ด้วยว่า พระเสริมประจำพี่ใหญ่ พระสุกประจำคนกลาง พระใสประจำน้องสุดท้อง มีขนาดลดหลั่นกันตามลำดับ การประดิษฐาน เดิมทีนั้นหลวงพ่อพระใสได้ประดิษฐาน ณ เมืองเวียงจันทน์ พ.ศ. ๒๓๒๑ สมัยกรุงธนบุรีได้อัญเชิญไปไว้ที่เมืองเวียงคำ และถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดโพนชัย เมืองเวียงจันทน์อีก ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ เจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์เป็นกบฎ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์ เป็นจอมทัพยกพลมาปราบ จึงได้อัญเชิญพระสุก พระเสริม และพระใส ลงมาด้วย โดยอัญเชิญมาจากภูเขาควายขึ้นประดิษฐานบนแพไม้ไผ่ ซึ่งผูกติดกันอย่างมั่นคงล่องมาตามลำน้ำงึม เมื่อล่องมาถึงตรงบ้านเวินแท่นในขณะนั้น เกิดอัศจรรย์แท่นของพระสุกได้เกิดแหกแพจมลงไปในน้ำ โดยเหตุที่มีพายุพัดแรงจัด และบริเวณนั้นได้นามว่า "เวินแท่น" การล่องแพก็ยังล่องมาตามลำดับจนถึงน้ำโขง (ปากน้ำงึม) เฉียงกับบ้านหนองกุ้ง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ได้เกิดพายุใหญ่ เสียงฟ้าคำรามคะนองร้องลั่น ในที่สุดพระสุกได้แหกแพจมลงไปในน้ำ ซึ่งอาการวิปริตต่างๆ ก็ได้หายไปเป็นอัศจรรย์ยิ่ง บริเวณนั้นจึงได้ชื่อว่า "เวินสุก" และพระสุกก็จมอยู่ในน้ำตรงนั้นมาจนถึงปัจจุบันนี้ ก็ยังเหลือแต่พระเสริม พระใส ที่ได้นำขึ้นมาถึงเมืองหนองคาย พระเสริมนั้นได้ถูกอัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดโพธิ์ชัย ส่วนพระใส ได้อัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดหอก่อง (ปัจจุบันคือวัดประดิษฐ์ธรรมคุณ) ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและเจ้าเหม็น (ข้าหลวง) อัญเชิญพระเสริม จากวัดโพธิ์ชัย หนองคายไปกรุงเทพฯ และอัญเชิญพระใสจากวัดหอก่องขึ้นประดิษฐานบนเกวียนจะอัญเชิญลงไปกรุงเทพฯ ด้วย แต่พอมาถึงวัดโพธื์ชัย หลวงพ่อพระใสได้แสดงปาฏิหาริย์จนเกวียนหักจึงอัญเชิญลงไปไม่ได้ ได้แต่พระเสริมลงกรุงเทพฯ ประดิษฐาน ณ วัดปทุมวนาราม ส่วนหลวงพ่อพระใสได้อัญเชิญประดิษฐาน ณ วัดโพธิ์ชัย อ.เมืองหนองคาย จนถึงปัจจุบัน ความอัศจรรย์ของหลวงพ่อพระใสจนได้สมญาว่า "หลวงพ่อเกวียนหัก"
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)