วันศุกร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2560

โพนพิสัย


อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
อำเภอเล็กๆ ที่หลายคนพอคุ้นเคยจากเรื่องราวของ 15 ค่ำเดือน 11
ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค บางคนรู้จักกับตำนานเมืองหลวงของพญานาค
แห่งโลกบาดานใต้แม่น้ำโขง
แต่...หลายคนยังไม่ทราบว่า อำเภอโพนพิสัย มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย
ที่กำลังรอให้ทุกท่านได้สัมผัส กับ รีวิวชุดนี้ครับ


1.วัดไทย และ ถ้ำพญานาค
ถ้ำพญานาค หรือ ถ้ำเมืองบาดาลจำลอง ตั้งอยู่ที่ วัดไทย อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย
ตำนานเล่าขานกันถึงเมืองหลวงของพญานาคแห่งโลกบาดาลใต้แม่น้ำโขง
เชื่อกันว่า อยู่ที่ริมแม่น้ำโขงหน้าวัดไทยนี้เอง


ในคืนหนึ่ง เจ้าอาวาสวัดไทยได้นิมิตว่า มีหญิงชาย ร่างกายสีดำมานิมนต์ให้สร้างสัญลักษณ์ประจำเมืองบาดาล
หรือเมืองพญานาคไว้เมืองมนุษย์ ณ บริเวณ วัดไทย ท่านเจ้าอาวาสจึงดำริสร้างสิ่งแทนโลกบาดาลคือ
1.ราชาแห่งพญานาค เฝ้าที่หน้าทางเข้าถ้ำ สูง 19 เมตร
2.สร้างเป็นนาคบาท คือลักษณะแบบงูกินหาง หมายถึงสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง
3.เสาหลักเมืองบาดาล เป็นรูปร่างสามเหลี่ยม
4.ประตูทางเข้าเมืองบาดาล


ทางเข้าจะเชื่อมเข้าไปในลำตัวของพญานาค ซึ่งจะลอดเข้าทางส่วนท้องของพญานาค
และจะมุดออกทางส่วนหางของพญานาค
ภายในแบ่งเป็น ถ้ำจำลอง 7 ห้อง แต่ละห้องแสดงถึงเรื่องราวของเมืองบาดาล


เช่นห้องสมบัติพญานาค จำรองถ้ำใต้บาลที่เป็นที่เก็บสมบัติของพญานาคเอาไว้
จำรองเป็นแก้วแหวนเงินทอง ผนังห้องเป็นสีทอง



ห้องอริยสงฆ์ เป็นห้องที่มีหุ่นขี้ผึ่งจำรอง อริยสงฆ์ของประเทศไทยเอาไว้
บริเวณทางเดิน ประดับด้วยจิตกรรมฝาผนังที่งดงาม
เล่าเรื่องราวถึงตำนานของพญานาคและโลกบาดาล


นอกจากนี้ บริเวณริมฝั่งโขงหน้าวัดไทย เป็นจุดชมบั้งไฟพญานาคที่ได้รับความนิยมที่สุดของ
จังหวัดหนองคาย ซึ่งในวันออกพรรษา 15 ค่ำเดือน 11 ขอเชิญทุกท่านมาพิสูจน์ตำนานแห่งพญานาคกันนะครับ

2.ริมฝั่งโขง อำเภอโพนพิสัย
ริมแม่น้ำโขง เขตเทศบาลอำเภอโพนพิสัย ถูกสร้างเป็นถนนเล็กๆ โค้งไปตามตลิ่งน้ำโขง
ระยะทางกว่า 3 กิโลเมตร ตั้งแต่วัดหลวง จนมาถึงหน้าวัดจอมนาง


ผ่านวัด และสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ทั้งบรรยากาศวิถีชีวิตริมแม่น้ำโขง
ที่ผู้คนมีความผูกพันธุ์กับสายน้ำ


เริ่มต้นเส้นทางที่ วัดหลวง โดดเด่นด้วยศาสนาสถานที่งดงามทั้งเจดีย์ วิหาร
และที่สะดุดตาคือพระยืนริมแม่น้ำโขงขนาดใหญ่


นอกจากนี้ยังมี พระสุกจำรอง ซึ่งเป็นหนึ่งในพระพุทธรูป 3 องค์ ที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทร์
อันประกอบด้วย พระสุก พระเสริม และพระใส แต่พระสุกเพียงพระองค์เดียวที่เกิดเหตุอัสจรรย์จมลงใต้ลำน้ำโขง
ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าเป็นอิทธิฤทธิ์ของพญานาค


ถัดมาคือบริเวณ ปากห้วยหลวง เป็นจุดที่มีการทำเกษรริมแม่น้ำโขง
เพราะดินบริเวณดังกล่าวเป็นดินปากแม่น้ำ จึงมีแร่ธาตุสะสมอยู่มาก
ใกล้ๆกันนั้นเป็นที่ตั้งของ ศาลหลักเมือง อ.โพนพิสัย และ ศาลเจ้าปู่ย่า
ซึ่งเป็นที่เคารพกราบไหว้ของชาวโพนพิสัยมาช้านาน


ถัดมาอีกประมาณ 800 เมตร เป็นที่ตั้งของ ตลาดนัดไทยลาว
มีทุกวันเสาร์และวันอังคาร เป็นตลาดที่จุดผ่อนปรนให้ชาวลาวสามารถ
ข้ามมาค้าขายที่ฝั่งไทยได้ โดยสินค้ามักเป็นอาหารพื้นเมือง อาหารป่าจากฝั่งลาว
เครื่องหัตถกรรมของชาวลาวโดยจะค้าขายช่วงเวลา 08.00-12.00 น.


3.ปากน้ำงึม (แม่น้ำสองสี ) และหาดบ้านหนองกุ้ง
จุดท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ที่จัดได้ว่าสวยงามที่สุดของโพนพิสัย คือ จุดชมวิวแม่น้ำสองสี
บริเวณดังกล่าวอยู่ที่บ้านหนองกุ้ง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 8 กม.


จุดดังกล่าว อยู่ริมแม่น้ำโขงตรงข้ามกับปากแม่น้ำงึม ของประเทศลาว
แม่น้ำงึมเป็นแม่น้ำขนาดใหญ่ของประเทศลาว ไหลลงมาจากเขื่อนแม่น้ำงึม (ประเทศลาว)


และไหลลงมาที่แม่น้ำโขงที่ บ้านปากงึมประเทศลาว
แม่น้ำงึมมีน้ำสีเขียว ส่วนแม่น้ำโขงมีน้ำสีส้มแดง เมื่อน้ำไหลมาบรรจบกันก็จะเป็นลักษณะแม่น้ำสองสี
ซึ่งสามารถชมความงามได้ชัดเจนที่ฝั่งไทย บริเวณบ้านหนองกุ้ง


บ้านหนองกุ้งยังเป็นสถานที่หนึ่งที่สามรถชมบั้งไฟพญานาคได้
ใกล้ๆกับจุดชมวิวนี้เอง ในช่วงหน้าร้อนจะมีหาดทรายริมชายโขง
ที่เรียกว่า หาดหนองกุ้ง หรือ บางคนเรียกว่า หาดจอมเพชร


เป็นสถานที่เล่นน้ำคลายร้อนยอดนิยมของชาวโพนพิสัย และคนต่างจังหวัด
มีบริการร้านอาหารและเครื่องดื่มในรูปแบบแพริมน้ำ มีบริการเช่าห่วงยาง เสื้อชูชีพ
หาดหนองกุ้งจะมีในฤดูร้อน คือ ช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม


4.พระเสี่ยง วัดมณีโคตร
พระเสี่ยงพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวโพนพิสัย และอำเภอข้างเคียง
เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่อายุกว่า 300 ปี สร้างโดยกษัตริย์อาณาจักรล้านช้าง


เมื่อปี พ.ศ. 2400 กิตติศัพท์ข่าวลือเกี่ยวกับอภินิหารของพระเสี่ยง ได้ทราบไปถึงรัชกาลที่ 4
จึงมีพระบรมราชโองการอัญเชิญเอาพระพุทธรูปที่สำคัญมาที่สยามพร้อมกัน แต่ไม่สำเร็จ


เมื่อประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา มีผู้คิดจะนำพระเสี่ยงไปไว้ที่กรุงเทพฯ
จึงได้อัญเชิญพระเสี่ยงขึ้นหลังช้าง พระเสี่ยงก็ได้แสดงอภินิหารให้ช้างหนักจนไปไม่ได้
พระเสี่ยงตกจากหลังช้าง เป็นเหตุให้หูหัก เกศคต จึงได้ประดิษฐานที่ วัดมณีโคตร ดังในปัจจุบัน


นอกจากนี้พระเสี่ยงยังมีความสำคัญต่องานประเพณีของชาวโพนพิสัยคือ
งานมหาสงกรานต์โพนพิสัย ที่ วัดมณีโคตร อ.โพนพิสัย
ซึ่งจะทำการแห่พระเสี่ยง วัดมณีโคตร ให้ประชาชนได้สรงน้ำ
ซึ่งจะอัญเชิญลงจากวิหารในวันที่ 13 เมษายน


นอกจากพระเสี่ยงแล้ว วัดมณีโคตร ยังมีจิตกรรมฝาผนัง สามมิติ
เรื่องตำนานพญานาค ซึ่งมีรูปเจ้าแม่นาคีอีกด้วย ( ละครเรื่องนาคี ละครช่อง 3 )


1 ความคิดเห็น: